ผ้าทอบ้านนาหมื่นศรี
ผ้าทอบ้านนาหมื่นศรี
Na Muen Sri Fabric
ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้ที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมไว้ โดยในอดีตใต้ถุนบ้านทุกหลังจะมีกี่บื้นบ้าน และอุปกรณืการทอผ้าแขวนไว้ทอในเวลาว่างจากการทำนา เหล่าแม่บ้านจะทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน ที่เหลือจะแจกจ่ายญาติมิตร สามารถทำรายได้แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ และช่วยให้ราษฎรมีงานทำ สามารถคงรักษาเอกลักษณ์ นำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน และยังคงรักษาเอกลักษณ์การทอผ้าไว้อย่างลงตัว เริ่มแรกจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาทอเป็นผืนผ้า อาทิเช่น ฝ้าย ด้ายดิบ ปัจจุบันใช้วัสดุสิ่งทอที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เช่น ด้าย ไหม ไหมเทียว ไนล่อน เป็นต้น
ผ้าทอได้ขาดหายระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพราะขาดวัสดุในการทอ จากนั้นค่านิยมการนุ่งผ้าทอหายไป เพราะผ้าจากโรงงาน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปนิยมใช้มากขึ้น เพราะซื้อได้ง่าย และราคาถูกกว่า กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นางนาง ช่วยรอด ได้ชวนนางผอบ ขุนทอง นางอิน เชยชื่นจิตร และนางเหิม ชูบัว นำกี่ทอผ้าพร้อมเครื่องมือมาซ่อมแซมจนใช้งานได้จึงเริ่มทอผ้า กระทั่งนางกุศล นิลลออ บุตรของนางนาง ซึ่งกลับมาเยี่ยมแม่ เกิดความชอบในการทอผ้า จึงฝึกฝนจนชำนาญ จากนั้นได้รวมสมาชิก ๑๐ คน ตั้งเป็นกลุ่มทอผ้า โดยซื้อขายกันเอง และเริ่มกระจายไปยังหมู่บ้านอื่น จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับถ้ำเขาช้างหาย ตามถนนสายนาหมื่นศรี ประมาณ ๕ กิโลเมตร
Na Muen Sri Fabric Hand woven fabric of Na Muen Sri is a handicraft that conserves southern tradition. Formerly , in the past , on the ground under every house had a loom and its accessories. On their free time out of rice farming , housewives would do weaving for household use and distribute the excess to friends and relatives and make income to their locality and the nation. Their hand – woven fabric maintains tradition identity and have it applied into practical use to the present era. Local materials were employed in the weaving such as cottons and yams. Nowadays , local materials in general markets are applied such as thread , silk thread , nylon , etc.
During Worild War ll , the hand – woven fabric was not available due to shortage of wearing hand – woven attires disappear. Readymade clothes become more popular and more convenient to buy even at the cheaper cost. Later on in 1917 , Mrs. Nang Chuai rawd convinced Mrs. Pha-ob Khunthong , Mrs. In Cheaichuenjit , and Mrs. Herm choobua to repair their looms then began weaving. After that , Mrs.Kusol Ninla-au , a daughter of Mrs. Nang , visited and was fond of weaving So she learned to do weaving and set up a group of 10 people for local hand – weaving for sale. It was then spread out to nearby villages and become famous.
How to go there? Take the same road to Khao Chang Hai Cave along Na Muen Sri Road for 5 KM.